เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [44. เอกวิหาริวรรค] 10. ชัมพูผลิยเถราปทาน
[78] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[79] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา 3 ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[80] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8
และอภิญญา 6 ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอัมพปิณฑิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อัมพปิณฑิยเถราปทานที่ 9 จบ

10. ชัมพูผลิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระชัมพูผลิยเถระ
(พระชัมพูผลิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[81] เมื่อพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้คงที่ ทรงพระยศอย่างสูงสุด
ซึ่งกำลังเสด็จเที่ยวบิณฑบาต
[82] ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส ได้ถือเอาผลหว้าไปถวายพระศาสดา
ผู้เป็นทักขิไณยบุคคล ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์
[83] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ผู้เจริญที่สุดในโลก ทรงองอาจกว่านรชน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 33 หน้า :72 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [44. เอกวิหาริวรรค] 10. ชัมพูผลิยเถราปทาน
เพราะกรรมนั้น ข้าพเจ้าจึงเป็นผู้ละความชนะ1
และความพ่ายแพ้2 ได้แล้ว บรรลุฐานะที่ไม่หวั่นไหว3
[84] ในกัปที่ 100,000 นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลหว้า
[85] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[86] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา 3 ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[87] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8
และอภิญญา 6 ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระชัมพูผลิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ชัมพูผลิยเถราปทานที่ 10 จบ
เอกวิหาริวรรคที่ 44 จบบริบูรณ์

เชิงอรรถ :
1 ละความชนะ หมายถึงละทิพยสมบัติและมนุษยสมบัติ (ขุ.อป.อ. 2/9/107)
2 ละความพ่ายแพ้ หมายถึงละทุกข์ในอบาย 4 (ขุ.อป.อ. 2/9/107)
3 ฐานะที่ไม่หวั่นไหว หมายถึงพระอรหัตตผลและนิพพาน (ขุ.เถร.อ. 2/651/268, ขุ.อป.อ. 1/291/278)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 33 หน้า :73 }